ไม่เห็นด้วย : เพราะการที่เราจะแสดงความคิดเห็น เราต้องคำนึงถึง คำพูด ที่อาจจะไปกระทบต่อบุคคลอื่นหรือไม่ และการที่เราจะตัดสินว่าใครผิด ถูก ยังไงนั้น มันคงจะห้ามไม่ได้ แต่การเอาความคิดของเราไปเผยแพร่ โดยการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวกลาง นั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจจะทำให้คนอื่นได้รับผลกระทบไปด้วย จากที่ได้อ่านบทความก็ จะมีแต่ความคิดเห็นที่ใช้คำพูดที่แรง ที่ออกมาจากอารมณ์มากกว่าเหตุผล คะ
แนวทางแก้ไข : การแสดงความคิดเห็นก็ถือว่าเป็นสิทธิของทุกคนแต่ก็ความคำนึงถึง คำพูด ที่ได้แสดงออกไปว่าอาจจะไปกระทบ ต่อบุคคลอื่นทำให้ได้รับความเดือดร้อน หรือทำให้เกิดปัญหาขึ้น
Num-Nim Blog
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
รหัสวิชา จ. 41201 รายวิชา ทักษะจีนกลางระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อหน่วย / เรื่อง 去学校怎么走?เดินไปโรงเรียนอย่างไร ? เวลา 4 คาบ
สาระสำคัญ
บทสนทนาเกี่ยวกับการสอบถามที่อยู่ การสอบถามอย่างสุภาพ องค์ประกอบของประโยคภาษาจีน
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง / สัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้ที่
1. ฟัง พูด เข้าใจ และฝึกฝนประโยคสนทนาภาษาจีนในบทสนทนาในเรื่องทิศทาง
2. อ่านออกเสียงและสะกดพินอิน (拼音) ตามที่เรียนได้
3. เข้าใจวลี ”บอกทิศทาง”
4. เขียนภาษาจีนตามลำดับขีดได้ถูกต้อง
5. สนทนาเชิงปฏิบัติการ “บอกทางกลับบ้านให้ฉันหน่อย”
6. ฟังและเขียนคำศัพท์ภาษาจีนและเขียนพินอิน 20 คำ
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K)
นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับบทสนทนาเกี่ยวกับการสอบถามที่อยู่ ทิศทาง การสอบถามอย่างสุภาพ องค์ประกอบของประโยคภาษาจีน
ด้านทักษะ (P)
ทักษะการฟัง นักเรียนฟังภาษาจีนที่ครูพูด สามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงเพื่อระบุว่าเป็นอักษรจีน หรือสัญลักษณ์สัทอักษร 拼音 ใดได้อย่างเข้าใจความหมาย
ทักษะการพูด นักเรียนพูดโต้ตอบบทสนทนาตามสถานการณ์ที่กำหนดในบทเรียนได้
ทักษะการอ่าน นักเรียนสามารถอ่านตัวสัทอักษร 拼音 อ่านออกเสียงอักษรจีน โดยเน้นเสียงหนักหรือเบาได้ในพยางค์แต่ละพยางค์ของคำ และสามารถอ่านตัวเลขในหน้าที่ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
ทักษะการเขียน นักเรียนฟังภาษาจีนที่ครูพูดและ สามารถเขียนเป็นตัวสัทอักษร拼音 หรือตัวอักษรจีนตามคำบอกได้
ด้านคุณลักษณะ (A)
1. เป็นผู้มีคุณธรรมในการดำรงชีวิต
2. รับผิดชอบ
3. ซื่อสัตย์
4. ขยันใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา
5. กล้าแสดงออกอย่างถูกกาลเทศะ
สาระการเรียนรู้
1. 生词 คำศัพท์
2. 对话:课บทสนทนา
学校里边有没有银行?
我的家附近
我的房间
3. 语法 ไวยากรณ์
方位词(所处,时间,数量)
存在表示“在“ “有“
多 + 远,高,大,长
介词“离”
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูผู้สอนกล่าวถึงหลักการสอบถามเส้นทาง สถานที่ การเขียนที่อยู่ การเขียนหน้าซองจดหมายของจีน ที่ต่างจากหลักของไทย คือ ของประเทศไทยจะเรียงจากบ้านเลขที่ไปหาประเทศ แต่ของจีนจะเรียงจากประเทศไปหาบ้านเลขที่ ตำแหน่งของชื่อผู้รับและผู้ส่งจดหมายบนหน้าซองจดหมาย
2. ให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยคภาษาไทยที่ตั้งคำถามผู้อื่นอย่างสุภาพ และให้ครูผู้สอนยกตัวอย่างเปรียบเทียบเป็นภาษาจีน
3. ก่อนจะสอนคำศัพท์ของหน่วยการเรียนนี้ ให้นักเรียนแย่งกันอ่านคำศัพท์เหล่านั้นก่อน โดยใช้ความรู้เรื่องระบบการสะกดเสียงสัทอักษร 拼音 ที่เรียนมาสะกดคำ ครูผู้สอนบันทึกคะแนนสะสม
ขั้นสอน
ครูผู้สอนอธิบายถึงรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในสาระการเรียนรู้และเอกสารประกอบในภาคผนวก
ขั้นสรุป
1. ให้นักเรียนสอบถามสถานที่ในโรงเรียน เช่น ธนาคารโรงเรียน ร้านค้า ฯลฯ
2. ให้นักเรียนแต่ละคนบอกตำแหน่งทิศทางของสิ่งของต่าง ๆ ในห้องd
3. ครูผู้สอนสรุปหลักการบอกตำแหน่งของสิ่งของในห้องเรียนหรือในห้องนอน รวมไปถึงการบอกตำแหน่งของสถานที่ในชุมชนได้
4. ปฏิบัติตามกิจกรรมประเมินผลตามที่ครูกำหนด
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. บัตรคำ
2. เอกสารลำดับขีด
3. เทปการออกเสียงจากเจ้าของภาษา
4. วีดิทัศน์ประกอบเนื้อหา
5. หนังสือเรียน
6. ห้องเรียน
การวัดและประเมินผล
1. วิธีวัด : การส่งงาน การฝึกปฏิบัติ การทดสอบ การสังเกต
2. เครื่องมือวัด : แบบบันทึกคะแนนความตื่นตัวสะสม สมุดงาน เอกสารลำดับขีด แบบประเมินการฝึกปฏิบัติ
3. เกณฑ์การประเมิน : K : P : A (6 : 6 : 4)
คะแนน K : P มาจาก
คะแนน A มาจาก คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (4 คะแนน)
กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี)
ให้นักเรียนจับกลุ่มสนทนา 3 คน โดยให้มีเนื้อหาการสนทนาเกี่ยวกับการสอบถามสถานที่ ที่อยู่ หมายเลขห้องพัก หมายเลขโทรศัพท์ และการเดินทางไปโดยรถประจำทางสายอะไร โดยสนทนากันเป็นคู่ และให้นักเรียนคนที่ 3 ในกลุ่มทำหน้าที่จับผิดการออกเสียงภาษาจีนให้ชัดเจน เมื่อสนทนาเสร็จแล้วให้สลับหน้าที่กันจนครบทั้ง 3 คน
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ลูกคิด ( Abacus) | |
| |
Pascal’s Calculato | |
กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) | |
บัตรเจาะรู | |
| |
| |
| |
EDVAC (first stored program computer) | |
| |
|
เทคโนโลยี / นวัตกรรมในท้องถิ่น
พีรพล โสวัตร จากกลุ่มเยาวชนผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวและงานไม้ เจ้าของผลงาน โคมไฟกะลามะพร้าว เป็นงานสร้างสรรค์ใส่ไอเดีย ใช้ทุนต่ำ สร้างรายได้ อย่างงาม
กะลามะพร้าว ที่เคยไม่มีค่า หลัง ๆ มีการนำมาใช้ประโยชน์-สร้างมูลค่าได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งถ้านำมาสร้างสรรค์ใส่ไอเดีย บวกฝีมือ วัสดุที่เคยถูกทิ้งไม่มีราคาอย่างกะลามะพร้าวก็จะกลายเป็นชิ้นงานที่มีคุณ ค่า-มีราคา อย่างเช่น โคมไฟกะลามะพร้าว ที่ทีม ช่องทางทำกิน มีข้อมูลมานำเสนอในวันนี้
พีรพล โสวัตร จากกลุ่มเยาวชนผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวและงานไม้ เป็นเจ้าของผลงาน โคมไฟกะลามะพร้าว ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานกะลามะพร้าวมากว่า 20 ปี เจ้าตัวเล่าว่า นำกะลามะพร้าวมาทำเป็นชิ้นงานต่าง ๆ ขายมานาน ทำมาตั้งแต่ยังไม่มีโครงการโอท็อป ซึ่งตอนแรกนั้นมีโอกาสได้ไปเรียนหลักสูตรการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ เป็นหลักสูตรของกระทรวงอุตสาหกรรม ระยะสั้น เรียนเพียง 7 วัน ซึ่งในหลักสูตรก็จะสอนวิธีการนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นชิ้นงานขาย
หลังจากจบหลักสูตรก็กลับมาลงมือทำที่บ้าน โดยช่วงแรกเริ่มจากทำเครื่องประดับ พวงกุญแจ ของเล็ก ๆ น้อย ๆ จากกะลามะพร้าว นำไปวางขายตามข้างทางที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ซึ่งช่วงแรกยังไม่มีใครสนใจมากนัก จนหลังจากนั้น 2-3 ปี ก็เริ่มมีคนสนใจในงานกะลามะพร้าวมากขึ้น และเริ่มมีลูกค้าต่างชาติให้ความสนใจ
ลูกค้าต่างชาตินอกจากจะสนใจซื้อ ยังนำแบบของการนำกะลาแปรรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ จากที่อื่นมาให้เราดูหลายแบบ แล้วถามว่าเราทำแบบนี้ได้ไหม เราก็บอกว่าทำได้ ซึ่งตอนนั้นเราก็เริ่มกลับมาปรับปรุงพัฒนางานการทำกะลาให้มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น จากที่เคยทำแต่พวกของชิ้นเล็ก ก็เริ่มทำงานชิ้นใหญ่ขึ้น
รวมถึง โคมไฟ ด้วย
หลังจากพีรพลทำงาน โคมไฟกะลามะพร้าว ออกจำหน่าย ลูกค้าก็เริ่มสนใจสินค้ามากขึ้น จึงทำให้โคมไฟกลายเป็นงานที่ทำออกมาแล้วขายได้เรื่อย ๆ เป็นงานที่ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความสนใจมากที่สุด ซึ่งงานโคมไฟกะลามะพร้าวของกลุ่มนี้มีทั้งตั้งโต๊ะ และแขวน ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ก็จะมีรูปทรงต่าง ๆ ประมาณ 7-8 แบบ
พีรพลบอกต่อว่า สำหรับการทำงานกะลามะพร้าวนี้ไม่ยาก ใช้เวลาฝึกหัดทำจริง ๆ ประมาณ 10 วัน ก็สามารถทำเป็นแล้ว แต่คนที่จะมาทำงานตัวนี้ต้องเป็นคนที่มีใจรัก ต้องชอบจริง ๆ
วัสดุอุปกรณ์ในการทำโคมไฟกะลามะพร้าว
มีอยู่ไม่กี่อย่าง อาทิ สว่านไฟฟ้า, มอเตอร์ 2 หัว (สำหรับใช้เจียกะลา), สิ่ว, กระดาษทราย, สายไฟ, หลอดไฟ, เชือกผักตบชวา, กาวร้อน, แล็กเกอร์ เป็นต้น
สำหรับกะลามะพร้าวที่ใช้ทำโคมไฟ จะใช้จากมะพร้าวที่เป็นลูก ควรเลือกลูกมะพร้าวที่ปอกเปลือกเหลือแต่กะลาแล้วมีขนาดไซต์ที่ใกล้เคียงกัน นำมาทำเป็นโคมไฟ เพื่อความสวยงาม
วิธีการทำโคมไฟกะลามะพร้าว
เริ่มจากการนำมะพร้าวมาทำการปอกเปลือกนอกออก จากนั้นก็ทำการคัดขนาดให้ได้ใกล้เคียงกัน นำกะลามะพร้าวมาทำการเจาะรูด้านบนของลูกกะลา ให้มีขนาดกว้างพอประมาณ จากนั้นก็ทำการแคะเนื้อข้างในออกให้หมด โดยใช้ลิ่มทำการแคะ
หลังจากแคะเนื้อด้านในออกจนหมด ก็นำลูกกะลาไปทำการขัดทำความสะอาดผิวด้านในด้วยกระดาษทรายให้เรียบร้อย จากนั้นนำไปทำการเจาะรูเพิ่มตามต้องการ แล้วจึงขัดผิวด้านนอกด้วยกระดาษทรายให้เรียบ
การเจาะรูลูกกะลาสำหรับให้แสงไฟลอดออกมานั้น ใช้วิธีการกะระยะความห่าง และขนาดของรูตามต้องการ รูปแบบก็ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบตายตัว
ขั้นต่อไปทำการขึ้นสายไฟตามแบบที่กำหนด ซึ่งโคมไฟหนึ่งโคม เมื่อใช้กะลากี่ลูกประกอบกันเป็นโคม ก็ขึ้นสายที่มีหัวหลอดไฟไว้ตามจำนวนเท่านั้น โดยจะใช้กะลามาตัดทำเป็นฝาครอบ จากนั้นใช้เชือกผักตบชวาพันทับสายไฟเพื่อเป็นการเก็บซ้อนสายไฟ เพื่อความสวยงาม
การประกอบก็นำกะลามะพร้าวที่เตรียมไว้ใส่ครอบหลอดไฟ ใช้นอตยึดฝาครอบกับกะลาให้แน่นหนา นำไปพ่นแล็กเกอร์บาง ๆ ตั้งทิ้งไว้ให้แห้ง เท่านี้ก็ขายได้แล้ว (แต่ถ้าขายลูกค้าต่างชาติไม่ต้องพ่นแล็กเกอร์ทับเพราะลูกค้าต่างชาตินั้นจะ ชอบงานที่ดูเป็นธรรมชาติ)
งาน โคมไฟกะลามะพร้าว ของพีรพลและกลุ่มนั้น มีหลายรูปแบบ ซึ่งราคาขายก็ตั้งแต่ 100-500 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน นอกจากนี้ทางกลุ่มยังมีสินค้าที่ทำจากกะลามะพร้าวประเภทอื่น ๆ จำหน่ายอีกหลากหลาย
วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ : นางสาววัลลีย์ ไชยคำ
ชื่อเล่น: นุ่มนิ่ม
วัน เดือน ปีเกิด: 27 ส.ค. 2529
จบการศึกษาจาก :มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
ประวัติการศึกษาสูงสุด :ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีน
ประวัติการทำงาน : 2552-ปัจจุบัน
สถานที่ทำงาน : โรงเรียนนุชนาถอนุสรณ์ ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
ตำแหน่ง :ครูผู้สอน วิชาภาษาจีน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 , มัธยมศึกษาปีที่ 4
ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ :สามารถใช้โปรแกรมได้ดังนี้
ใช้โปรแกรม Microsoft powerpoint Microsoft word
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)